• Icon 02

The Third National Conference on Public Affairs Management
"Governance Transition and Reform to Sustainable Development"

โครงการประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะ ครั้งที่ 3 “การเปลี่ยนผ่าน และการปฏิรูปการบริหาร สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2559 ณ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น


NEWS

. ตรารางการนำเสนอผลงาน 


. ประกาศรายชื่อผู้เสนอผลงานในงานประชุม 


. ประกาศรายชื่อผู้เสนอผลงานในงานประชุม รอบ 2 


. การเปลี่ยนผ่านและการปฏิรูปการบริหาร 


. ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ เรื่องการปกครององค์กรท้องถิ่น ของสาธารณรัฐประชาชนจีน: กรณีศึกษามณฑลยูนนาน 


 


รายละเอียดโครงการ


     ปัจจุบันสังคมไทยกำลังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านจากช่วงเวลาและระบอบเก่าไปสู่สิ่งใหม่ ซึ่งยังเป็นเรื่องยากที่จะประเมินถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวในช่วงการเปลี่ยนผ่านนี้ อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธมิได้ว่า ในทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนผ่านมักจะมีการปฏิรูปด้วยเสมอ การปฏิรูปเป็นการผ่าตัดปรับเปลี่ยนโครงสร้าง และจัดองค์กรการเมือง การบริหาร เศรษฐกิจและสังคม เพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมใหม่ที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ำ โครงสร้างสังคมที่รายล้อมไปด้วยความยุติธรรม ตลอดจนเป็นสังคมที่มีวุฒิภาวะในการที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆได้อย่างสันติวิธีเช่นเดียวกับมีการบริหารงานที่เน้นประสิทธิภาพและความเป็นธรรม

     ในช่วงเวลาที่ผ่านมา สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ได้วางหลักการการปฏิรูปประเทศในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านไว้ 12 ด้านเพื่อให้บรรจุในรัฐธรรมนูญ ได้แก่ 1. ด้านการเมือง 2. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 3. ด้านกฎหมายและกระบวนการ 4. ด้านการปกครองท้องถิ่น 5. ด้านการศึกษา 6. ด้านเศรษฐกิจ การเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ 7. ด้านพลังงาน 8. ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 9. ด้านสื่อสารมวลชน 10. ด้านสังคม 11. ด้านกีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม การศาสนา คุณธรรมและจริยธรรม และ 12. ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

     เห็นได้ว่าแต่ละด้านข้างต้นมีความสำคัญยิ่งยวดและทุกภาคส่วนต่างๆในสังคมรวมถึงสถาบันวิชาการควรเข้ามามีส่วนร่วมในกระแสการปฏิรูปครั้งนี้ด้วยการนำเสนอองค์ความรู้ บทเรียนหรือข้อเสนอแนะสู่สังคมไทยเพื่อให้ผลลัพธ์จากการปฎิรูปครั้งนี้นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทย ดังนั้น ด้วยความตระหนักถึงการเป็นสถาบันการศึกษาที่เชื่อว่าพลังเปลี่ยนแปลงโลกอยู่ที่ท้องถิ่น วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงสนับสนุนให้มีการจัดประชุมระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะ ครั้งที่ 3 ในประเด็น “การเปลี่ยนผ่านและการปฏิรูปการบริหารสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพื่อเปิดพื้นที่ทางวิชาการให้แก่นักศึกษา นักวิชาการ คณาจารย์ และสาธารณชนได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าและการวิจัยเกี่ยวกับสภาวการณ์ในมิติต่างๆของการปฎิรูป นอกจากนี้ การประชุมวิชาดังกล่าวยังเป็นเวทีสำคัญให้แก่นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาได้พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของวิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2559 ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งถือเป็นกลไกที่สำคัญ ในการพัฒนาและขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่มีคุณภาพ


วัตถุประสงค์


     1. เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเสวนา แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับผลการวิจัยระหว่าง นักศึกษา คณาจารย์ และนักวิชาการ ทั้งในสถาบันเดียวกันและต่างสถาบันอันจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นที่เป็นรูปธรรม
     2. เพื่อให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและนักวิชาการได้เผยแพร่ผลงานวิชาการที่เป็นประโยชน์สู่สาธารณะ



หน่วยงานรับผิดชอบหลัก


College of Local Administration, Khon Kaen University,Thailand
วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแแก่น 123 มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
โทรศัพท์: 0-4320-3124 โทรสาร: 0-4320-3875


หน่วยงานเจ้าภาพร่วม


สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
สำนักงานหลักประกันแห่งชาติ เขต 7-8
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
สถาบันพระปกเกล้า
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์
เทศบาลนครขอนแก่น
กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
โรงเรียนนายตำรวจสามพราน
กองบังคับการตำรวจภูธรภาค 4
มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ
มูลนิธิ Konrad Adenauer
มูลนิธิฟริดริซ เนามัน (Friedrich Naumann Foundation)


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ


1. ผลงานวิจัยได้เผยแพร่สู่สาธารณะ และสามารถนำไปสู่การพัฒนาสังคมและประเทศชาติได้
2. นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้รับความรู้ทั้งในแง่ผลการวิจัยและการปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จด้านการปกครองและการบริหารการพัฒนาท้องถิ่น
3. เกิดการพัฒนานวัตกรรมและศาสตร์แห่งการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นที่สะท้อนสภาพความเป็นจริงและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์
4. เกิดทุนทางสังคมที่พัฒนามาจากการเชื่อมโยงเครือข่ายซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลองค์ความรู้และทรัพยากรที่สำคัญสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนของการพัฒนาระดับท้องถิ่น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระดับชาติและระดับภูมิภาค


ข้อมูลติดต่อ

วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแแก่น College of Local Administration, Khon Kaen University,Thailand
123 มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
โทรศัพท์: 0-4320-3124 โทรสาร: 0-4320-3875 Url: http://cola.kku.ac.th/